หลักสูตรปี 2563
หลักสูตรปรับปรุง 2568
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร
จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร
- หลักสูตรนี้มุ้งเน้น...
>>> การสร้างแนวคิดและการเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร (ปั้นเถ้าแก่น้อย)
>>> การพัฒนาทักษะในสถานประกอบการและทำโครงงานวิจัยจากโจทย์จริงของสถานประกอบการ
>>> พัฒนาทักษะให้สามารถเป็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหาร - *** มีการเรียนการสอนที่โดดเด่นแบบแบบ 3+1
>>> เรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ควบคู่กับการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เป็นเวลา 3 ปีการศึกษา
>>> ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร
ชื่อย่อ (ไทย) วท.บ. (วิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร)
ภาษาอังกฤษ (Bachelor of Science in Food Science and Technology Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) B.Sc. (Food Science and Technology Management)
เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยพร้อมดูงานนอกสถานที่ 3 ปีการศึกษา
ฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ 1 ปีการศึกษา
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อาหาร
และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร
- บูรณาการวิทยาศาสตร์และการจัดการ
หลักสูตรผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อาหารและการจัดการธุรกิจเพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะด้านวิทยาศาสตร์อาหาร และมีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ - *** การเรียนรู้แบบ 3+1 ที่เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
เรียนรู้รายวิชาควบคู่กับการศึกษาดูงานนอกสถานที่ 3 ปี และฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 1 ปี - การพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
มุ่งเน้นการส่งเสริมให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างนวัตกรรมอาหารและพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ - ปั้นเถ้าแก่น้อย
มุ่งเน้นทักษะการเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ฝึกการทําธุรกิจผ่านกิจกรรม Young Startup และห้องเรียนธุรกิจจําลอง - เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างประเทศ
เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และฝึกปฏิบัติ ณ ต่างประเทศ
- เรียนรู้วิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยีอาหาร: เข้าใจคุณสมบัติอาหาร กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- ฝึกฝนการจัดการธุรกิจอาหาร: พัฒนาทักษะการตลาด การบริหาร และเทคโนโลยีในการจัดการธุรกิจอาหาร
- สร้างนวัตกรรมอาหารที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่: เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ Functional Food, Personalized Food และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
- ฝึกประสบการณ์การทํางาน: ลงมือปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในสถานประกอบการจริง
ชื่อหลักสูตร
ชื่อเต็ม (ไทย): หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์อาหารและการจัดการเทคโนโลยีอาหาร
ชื่อย่อ (ไทย): วท.บ. (วิทยาศาสตร์อาหารและการจัดการเทคโนโลยีอาหาร)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Science (Food Science and Food Technology Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ): B.Sc. (Food Science and Food Technology Management)
รายละเอียดหลักสูตร
ปีการศึกษาที่ 1 ช่วงแห่งการเตรียมความพร้อม
- เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 8 รายวิชาหลัก (แคลคูลัส เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ และสถิติ เป็นต้น) เพื่อใช้เป็นเนื้อหาปูทางสู่การเรียนรายวิชาชีพ
- มีการศึกษาดูงานโรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหารนอกสถานที่ เพื่อเห็นให้ภาพการทำงานที่จริง
ปีการศึกษาที่ 2 เข้าสู่รายวิชาชีพอย่างเต็มตัว
- เรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
- เริ่มพัฒนาแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการโดยการสอนจากผู้มีประสบการณ์จริง
ปีการศึกษาที่ 3 เลือกชุดวิชาชีพตามความสนใจ
แบ่งชุดวิชาชีพเลือกออกเป็น 4 ด้าน นักศึกษาเลือกศึกษาในกลุ่มวิชาที่สนใจ จำนวน 2 ด้าน
- การพัฒนานวัตกรรมอาหารอนาคต
- อาหารปลอดภัยและการควบคุมระบบประกันคุณภาพ
- ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
- การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
ปีการศึกษาที่ 4 ฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ
ออกฝึกปฏิบัติงานจริงและรับโจทย์จากสถานประกอบการมาเป็นหัวข้อโครงงาน
รายละเอียดหลักสูตร
ปีการศึกษาที่ 1 ช่วงแห่งการเตรียมความพร้อม
- เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อใช้ปูทางสู่การเรียนรายวิชาชีพ
- ศึกษาดูงานอุตสาหกรรมอาหารนอกสถานที่ เพื่อเห็นภาพจริงการทำงาน
ปีการศึกษาที่ 2 เข้าสู่รายวิชาชีพอย่างเต็มตัว
- เรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสําหรับอุตสาหกรรมอาหาร
- พัฒนาแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ โดยการสอนจากผู้มีประสบการณ์จริง
ปีการศึกษาที่ 3 เข้าสู่รายวิชาด้านการบริหารและการจัดการ และสามารถเลือกชุดวิชาชีพตามความสนใจ
(1) ชุดวิชาการพัฒนานวัตกรรมอาหาร
(2) ชุดวิชาการจัดการการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
3) ชุดวิชาการจัดการทางธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร
ปีการศึกษาที่ 4 ฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ
ออกฝึกปฏิบัติงานจริงและรับโจทย์จากสถานประกอบการมาเป็นหัวข้อโครงงาน
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
PLO 2 : สามารถบูรณาการความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและการบริหารธุรกิจมาใช้สร้างแนวคิดการประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมอาหาร
PLO3 : สามารถสร้างนวัตกรรมหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
PLO 4 : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหารได้
PLO 5 : มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการทำงานวิชาการ งานวิจัย และจรรยาบรรณวิชาชีพด้านอาหาร
PLO 6 : สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ
PLO 7 : สามารถปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
PLO 8 : วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์สถานประกอบการ
PLO 9 : มีแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการ หรือสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านอาหาร
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิตในสถานประกอบการด้าน อุตสาหกรรมอาหาร
4. ผู้ตรวจสอบระบบประกันคุณภาพ/ระบบผลิต
5. นักวิจัยและพัฒนาและนักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
4. GPAX 6 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50
PLO2: วิเคราะห์ข้อมูลด้วยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถิติ
PLO3: อธิบายหลักการ คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
PLO4: อธิบายหลักการ คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการบริหารธุรกิจอาหาร
PLO5: ประยุกต์ใช้ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร
PLO6: ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย
PLO7: ออกแบบแผนธุรกิจและการดำเนินธุรกิจด้านอาหารผ่านสถานการณ์จำลองได้อย่างเป็นระบบ
PLO8: พัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อการประกอบธุรกิจ
PLO9: บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารกับการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างเป็นระบบ
PLO10: สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และนำเสนอเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
PLO11: เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสืบค้นเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิต
PLO12: ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยหรือสถานที่ฝึกปฏิบัติงาน
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
3. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิตในสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหาร
4. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและประกันคุณภาพ/ระบบผลิต
5. นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
4. GPAX 6 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50
B.Sc_.Food-Science-and-Technology-Management.pdf
B.Sc_.-Food-Science-and-Food-Technology-Management.pdf